หลักการทำงานของกระบอกลมนิวแมติกส์
หลักการทำงานของกระบอกลมนิวแมติกส์ หรือกระบอกสูบ Air Cylinder, Actuators คือ อุปกรณ์ที่เปลี่ยนพลังงานในรูปแบบความดันลมให้เป็นพลังงานกล เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนเครื่องจักร พลังงานเชิงกลที่ได้จาก กระบอกลมนี้จะสามารถสร้างการเคลื่อนที่แบบเชิงเส้นและก็แบบหมุนได้
โดยหลักการใช้งานทั่ว ๆ ไปนั้น กระบอกนิวแมติกส์ เป็นอุปกรณ์ทางกลที่แปลงพลังงานจากอากาศอัดเป็นการเคลื่อนที่เชิงเส้น ระบบนิวแมติกส์จะนิยมใช้สำหรับการเคลื่อนย้าย ดึง ยก และเปิด ปิดประตู หรืองานอื่นๆ เราสามารถนำระบบนิวแมติกส์นี้มาช่วยสำหรับในการจัดแจงรวมทั้งประมวลผลอุปกรณ์ ทั้งระบบนิวเมติกส์ยังสามารถยึดเก็บ นำอุปกรณ์หรือองค์ประกอบมาประกอบเป็นชิ้นส่วนในกระบวนการผลิตได้อีกด้วย
ซึ่งนี่ก็นับว่าเป็นข้อดีหรือความยืดหยุ่นของกระบอกลมเลยก็ว่าได้ และยังเป็นอุปกรณ์ที่นิยมมากในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม ไปจนถึงสามารถทำงานร่วมกับเครื่องจักรขนาดใหญ่ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีระบบการทำงานอัตโนมัติ ซึ่งข้อดีของระบบนิวแมติกส์นั้นคือเพื่อช่วยในการอำนวยความสะดวก เพิ่มความรวดเร็วและประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตสินค้า มีการใช้งานที่ง่ายและควบคุมได้ง่าย มีต้นทุนที่ต่ำกว่าการให้พลังงานในแบบอื่น ๆ เช่น ไฮดรอลิก หรือพลังงานไฟฟ้า
Table of Content
ส่วนประกอบภายในระบบนิวแมติกส์
- เครื่องอัดลม (Air Compressor) มีหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าหรือพลังงานเครื่องยนต์ให้เป็นพลังงานลมอัดที่มีความดันสูง
- เครื่องระบายความร้อนลมอัด (Heat Exchanger) มีหน้าที่ระบายความร้อนของลมอัดที่ได้จากหลักการทำงานของระบบนิวแมติกส์ก่อนนำไปใช้งาน
- เครื่องทำลมแห้ง (Air Dryer) มีหน้าที่ป้องกันการเกิดความชื้นหรือหยดน้ำกลั่นในระบบ เพื่อไม่ให้อุปกรณ์ต่าง ๆ เกิดความเสียหาย
- อุปกรณ์กรองลม (Air Filter) หรือ ตัวกรองอากาศ มีหน้าที่กรองลมให้สะอาดและดักความชื้นที่ได้จากหลักการทำงานของระบบนิวแมติกส์ก่อนนำไปใช้งาน
- ชุดควบคุมและปรับคุณภาพลมอัด (Service Unit) ประกอบไปด้วยวาล์วลดความดัน อุปกรณ์สำหรับจ่ายน้ำมันหล่อลื่น และอุปกรณ์สำหรับกรองลม มีหน้าที่กรองความชื้น ปรับความดันลมอัด และผสมน้ำมันหล่อลื่นเพื่อให้อุปกรณ์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
- อุปกรณ์ควบคุมทิศทางลม ประกอบไปด้วยวาล์วควบคุมทิศทางลม มีหน้าที่เปลี่ยนทิศทางลมผ่านการควบคุมลูกสูบเคลื่อนที่เข้าหรือเคลื่อนที่ออก และวาล์วบังคับความเร็ว มีหน้าที่ควบคุมปริมาณลมอัดเพื่อปรับระดับความเร็วของลูกสูบ
- อุปกรณ์เก็บเสียง (Air Silencer) มีหน้าที่กรองเสียงลมไม่ให้เกิดเสียงดังในขณะที่ระบายทิ้งออกสู่บรรยากาศ
- กระบอกสูบ (Air Cylinder) พระเอกในหลักการทำงานของระบบนิวแมติกส์เลยก็ว่าได้ มีหน้าที่เปลี่ยนจากพลังงานลมให้เป็นพลังงานกลให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้
หลักการทำงานของกระบอกลมนิวแมติกส์
สามารถแบ่งออกได้เป็น กระบอกลมแบบ Single Acting และ Double Acting
- กระบอกลมนิวแมติกส์แบบ Single Acting
ในกระบอกลมแบบ Single Acting อากาศจะถูกจ่ายไปยังด้านใดด้านหนึ่งของลูกสูบ และมีหน้าที่ในการเคลื่อนที่ลูกสูบไปในทิศทางเดียวเท่านั้น การเคลื่อนที่ของลูกสูบในทิศทางตรงกันข้ามนั้นจะถูกกระทำโดยสปริงเชิงกล กระบอกลมแบบ Single Acting สามารถออกแบบให้มีตำแหน่งฐานลบ (การคืนสปริง) หรือตำแหน่งฐานบวก (การยืดสปริง) ได้
แต่ข้อเสียของกระบอกลมแบบ Single Acting คือแรงส่งออกไม่สามารถส่งแรงได้เต็มที่ อันเนื่องมาจากแรงสปริงตรงข้าม นอกจากนี้ระยะชักของกระบอกลมแบบ Single Acting สามารถถูกจำกัดได้ เนื่องจากพื้นที่ที่สปริงอัดใช้ ความยาวของสปริงที่พร้อมใช้งาน และความยาวโครงสร้างของกระบอกลมที่ออกครั้งเดียวจะยาวกว่าระยะชักจริง
- กระบอกลมนิวแมติกส์แบบ Double Acting
ในกระบอกนิวแมติกส์แบบ double-acting อากาศจะถูกส่งไปยังห้องทั้งสองด้านของลูกสูบ ความกดอากาศที่สูงขึ้นในด้านหนึ่งสามารถขับเคลื่อนลูกสูบไปอีกด้านหนึ่งได้ กระบอกสูบแบบ Double-acting เป็นประเภทที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะผู้ใช้สามารถควบคุมกระบอกลมได้อย่างเต็มที่
ข้อดีของกระบอกลมแบบ double-acting คือระยะชักที่ยาวกว่า และแรงขับคงที่ตลอดระยะชักเต็ม กระบอกลมเหล่านี้ให้การควบคุมที่ดีขึ้นและทำงานด้วยอัตราการหมุนเวียนที่สูงขึ้น แต่ข้อเสียของกระบอกสูบแบบ double-acting คือความต้องการอากาศอัดที่มากกว่าสำหรับการเคลื่อนที่ทั้งสองทิศทาง
กระบอกลมนิวแมติกส์
จึงถือเป็นถังอากาศที่สามารถตอบโจทย์ในเรื่องค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงมากนัก แต่มีประสิทธิภาพมากที่สุด จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญในการทำงานของวงการอุตสาหกรรมนั่นเอง อีกทั้งอุปกรณ์ที่ใช้งานในการติดตั้งระบบนิวแมติกส์นั้นยังมีราคาถูก ติดตั้งใช้งานง่าย และดูแลซ่อมบำรุงได้สะดวกในกรณีที่อุปกรณ์ต่าง ๆ เกิดการชำรุด
แต่รูปแบบของกระบอกลมมีมากมายหลายแบบ ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้งาน มาตรฐานเครื่องจักร (ISO,JIS) พื้นที่การติดตั้ง และการใช้งานอื่น ๆ
AirTAC Brand
มีสินค้ากระบอกลมมากมายหลายแบบและมีหลายขนาด ผลิตด้วยเครื่องจักรอัตโนมัติที่มีมาตรฐาน และสามารถนำไปประกอบได้กับเครื่องจักรจากทุกประเทศ ทั้งจากโซนยุโรป ญี่ปุ่น หรือประเทศจีน มีการรับประกันจากโรงงานแท้โดยตรง และรับผลิตกระบอกลมนิวแมติกส์ สามารถสั่งทำกระบอกลมนิวแมติกส์ตามวัตถุประสงค์และตามความเหมาะสมกับงาน โดยผู้เชี่ยวชาญที่เชื่อถือได้
สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง
- Facebook Airtac Thailand By Gft
- เว็บไซต์ www.GFT.co.th
- LineID : @gftairtac
- โทร. 02-754-4702
บทความที่น่าสนใจ
วาล์วควบคุมทิศทางมีกี่ประเภท แต่ละประเภทใช้งานอย่างไร
วาล์วเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานในหลายๆประเภท ซึ่งวาล์วที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้เป็นอุปกรณ์ในลักษณะที่ใช้เกี่ยวกับการควบคุมการเคลื่อนที่เพื่อควบคุมทิศทางจึงเรียกว่าวาล์วควบคุมทิศทางนั่นเอง
Read More5 Steps วิธีเลือกซื้อชุดปรับคุณภาพลม
5 Steps วิธีการเลือกซื้อ ชุดปรับคุณภาพลม หรือชุดกรองลม ชุดกรองลมดักน้ำ (Air Service Unit) (FRL combination unit) เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อปั๊มลม
Read Moreรู้ก่อนดีกว่า..กับข้อควรระวังต่างๆในการติดตั้งกระบอกลม Air Cylinder
ตัวอย่างที 1 แนวการติดตั้งกระบอกสูบต้องอยู่แนวเดียวกันกับการเคลื่อนที่ของโหลดและขนานกับระดับพื้นเสมอ
Read More