ระบบนิวเมติกส์

ทำไมระบบนิวเมติกส์ Pneumatic จึงนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

ระบบนิวเมติกส์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ระบบลม” คือ ระบบที่ใช้อากาศอัด และส่งไปตามท่อลม ที่ประกอบเข้ากับชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องจักร เพื่อทำให้เกิดพลังงานกลในการทำงานสำหรับอุปกรณ์ต่างๆ เช่น วาล์วลม กระบอกสูบลม ชุดกรองลม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประกอบพื้นฐาน ระบบนิวเมติกส์

Pneumatic ในปัจจุบันนั้นมีการประยุกต์ใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่ระบบกระบอกสูบลม มอเตอร์ลมอย่างง่าย ไปจนถึงการทำงานในเครื่องจักรขนาดใหญ่ ประกอบกับระบบ Automation เพื่อการทำงานแบบอัตโนมัติ  

ซึ่งโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย และได้พัฒนามาใช้ระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ (Automation) เพื่อความรวดเร็วและลดความผิดพลาดในกระบวนการผลิต สามารถเพิ่มระยะเวลาทำงานและลดต้นทุนส่วนแรงงานได้มาก

Table of Content

Pneumatic AirTAC

ทำไมโรงงานอุตสาหกรรมนิยมใช้ระบบนิวเมติกส์

อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าในโรงงานอุตสาหกรรม มีระบบต่างๆ ประกอบกันขึ้นมาเพื่อใช้ในการอำนวยความสะดวกให้กับส่วนต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในสายการผลิต ซึ่งระบบนิวเมติกส์เป็นอีกระบบหนึ่งที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทย เนื่องจากระบบนิวเมติกส์นั้นมีข้อดีอยู่หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเพื่อใช้งานที่ง่าย มีราคาถูก ซ่อมแซมได้ง่ายสะดวก หากเกิดกรณีที่อุปกรณ์แต่ละตัวชำรุด สามารถซื้อตัวใหม่มาเปลี่ยนใช้งานทดแทนได้ อีกทั้งยังดูแลรักษาได้ง่าย เหตุผลส่วนหนึ่งที่โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ นิยมนำไปใช้ในส่วนของการประกอบของสายการผลิต สามารถแบ่งหัวข้อได้ดังนี้

  • ด้านความปลอดภัย ระบบนิวเมติกส์เป็นระบบที่มีลมเป็นตัวกลางในการทำงาน ทำให้ไม่มีการระเบิดหรือติดไฟลุกไหม้ ที่เป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายจากอัคคีภัย จึงประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการป้องกันความปลอดภัย
  • ด้านความเร็วในการทำงาน โดยปกติความเร็วในการทำงานของระบบนิวเมติกส์อยู่ที่ 1-2 เมตรต่อวินาที [m/s] แต่ถ้าต้องการความเร็วในการใช้งานที่สูงมากกว่านี้ สามารถใช้กระบอกสูบนิวเมติกส์ชนิดพิเศษ ซึ่งทำความเร็วได้สูงถึง 10 เมตรต่อวินาที และเพิ่มรอบการทำงานด้วยอุปกรณ์ควบคุมความเร็วได้สูงถึง 800 รอบต่อนาที [rpm]
  • ด้านความสะอาด เนื่องจากลมที่เป็นตัวกลางในการทำงานของระบบนิวเมติกส์เป็นสิ่งที่สะอาด เพราะมีชุดปรับปรุงคุณภาพลมก่อนนำไปใช้งาน ทำให้สิ่งที่เหลือหรือถูกระบายออกจากระบบที่เกินจากความจำเป็นของระบบ เป็นสิ่งที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
  • ความง่ายในการนำมาประยุกต์ใช้กับงาน โรงงานอุตสาหกรรมสามารถเพิ่มหรือลด และปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันในระบบได้ง่าย เช่น ปรับระยะก้านสูบ ขนาดกระบอกสูบนิวเมติกส์ เพิ่มหรือลดความดันลม ให้มีค่ามากน้อยได้ตามต้องการโดยใช้อุปกรณ์ควบคุมความดัน
  • ความเหมาะสมในการทำงาน ระบบนิวเมติกส์นั้นเป็นระบบที่มีลมเป็นตัวกลางในการทำงาน ดังนั้นจึงสามารถทำงานได้ที่ระดับความแตกต่างของอุณหภูมิ

ระบบนิวเมติกส์ในวงการอุตสาหกรรม ในบ้านเราที่พอได้เห็นมีดังนี้ คือ

  • โรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเครื่องมือเครื่องวัดต่างๆ
  • โรงงานอุตสาหกรรมหรืองานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง งานโยธา
  • โรงงานอุตสาหกรรมเกี่ยวกับงานขนถ่าย ขนส่ง โลจิสติกส์
  • โรงงานอุตสาหกรรมด้านการผลิต เช่น โรงงานบรรจุภัณฑ์ โรงงานอาหารสัตว์ สิ่งทอ อาหาร และอื่น ๆ 
  • โรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ รถไฟ 
  • อุตสาหกรรมทางด้านการแพทย์
Details,From,An,Automated,Industrial,Plant,In,The,Field,Of

ระบบนิวเมติกส์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรม 

จะแบ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่ม ๆ ตามหน้าที่การทำงาน ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบันการพัฒนาและเทคโนโลยีของอุปกรณ์แต่ละชนิดจะมีมากกว่าในอดีต แต่หน้าที่และหลักการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ยังคงไม่เปลี่ยนไปจากเดิม เราจะมาทำความเข้าใจถึงหน้าที่เกี่ยวกับอุปกรณ์นิวเมติกส์มีหน้าที่อะไรบ้าง

  1. อุปกรณ์ต้นกำลัง (Power unit)

ทำหน้าที่สร้างลมอัดที่มีคุณภาพเพื่อใช้ในระบบนิวเมติกส์ ประกอบด้วย

  • อุปกรณ์ขับ (Driving unit) ทำหน้าที่ขับเครื่องอัดลม ได้แก่ เครื่องยนต์ หรือมอเตอร์ไฟฟ้า
  • เครื่องอัดลม (Air compressor) ทำหน้าที่อัดอากาศที่ความดันบรรยากาศ ให้มีความดันสูงกว่าบรรยากาศปกติ
  • เครื่องระบายความร้อน (After cooler) ทำหน้าที่หล่อเย็นอากาศอัดให้เย็นตัวลง
  • ตัวกรองลมหลัก (Main line air filter) ทำหน้าที่กรองลมก่อนที่จะนำไปใช้งาน
  • ถังเก็บลม (Air receiver) เป็นอุปกรณ์ใช้เก็บลมที่ได้จากเครื่องอัดลม และจ่ายลมความดันคงที่สม่ำเสมอให้แก่ระบบนิวเมติกส์ ถังเก็บลมจะต้องมีลิ้นระบายความดัน เพื่อระบายความดันที่เกินสู่บรรยากาศ เป็นการป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นเมื่อความดันสูงกว่าปกติ ในส่วนของสวิตช์ควบคุมความดัน จะใช้ควบคุมการเปิด-ปิดการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ขับเครื่องอัดลมเมื่อความดันของลมสูงถึงค่าที่ตั้งไว้
  • เครื่องกำจัดความชื้น (Seperator) อุปกรณ์นี้จะช่วยแยกเอาความชื้นและละอองน้ำมันที่แฝงมากับอากาศอัด ก่อนที่อากาศอัดจะถูกนำไปใช้งาน ในบางครั้งเรียกอุปกรณ์นี้ว่าเครื่องทำลมแห้ง
  1. อุปกรณ์ปรับปรุงคุณภาพลมอัด (Compressed air Treatment component) 

ส่วนนี้จะทำให้ลมปราศจากฝุ่นละออง, คราบน้ำมันและน้ำมันก่อนที่จะนำไปใช้ในระบบนิวเมติกส์ ประกอบด้วย

  • กรองลม (Air filter)
  • วาล์วปรับความดันพร้อมเกจ (Pressure regulator )
  • อุปกรณ์ผสมน้ำมันหล่อลื่น (Lubricator )

   3. อุปกรณ์ควบคุมการทำงาน (Controlling component) 

คือ วาล์วควบคุมชนิดต่างๆ ในระบบนิวเมติกส์ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเริ่มและหยุดการทำงานของวงจร ควบคุมทิศทางการไหลของลม ควบคุมอัตราการไหลของลม และควบคุมความดัน

   4. อุปกรณ์การทำงาน (Actuator or working component) อุปกรณ์การทำงาน ทำหน้าที่เปลี่ยนกำลังงานของไหลให้เป็นกำลังกล เช่น กระบอกสูบลมชนิดต่าง ๆ เช่น กระบอกสูบทางเดียว (double-acting cylinders) หรือกระบอกสูบชนิดมีตัวกันกระแทก (cushioned cylinders) หรือมอเตอร์ลม เป็นต้น โดยมีลักษณะและรูปลักษณ์แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับงานนั้น ๆ การทำงานเชิงกลก็จะแตกต่างกันออกไปเช่นกัน  

   5. อุปกรณ์ในระบบท่อทาง (Piping system) อุปกรณ์ในระบบท่อทาง ใช้เป็นท่อทางไหลของลมในระบบนิวเมติกส์ ระบบท่อนี้รวมถึงท่อส่งลมอัดและข้อต่อชนิดต่าง ๆ ด้วย

ข้อควรระวังในการใช้ระบบนิวเมติกส์ในโรงงานอุตสาหกรรม

  • การทำงานของระบบนิวเมติกส์มักจะมีเสียงดังกวนพื้นที่บริเวณใกล้เคียง เพราะต้องมีการระบายลมทิ้ง ทำให้เกิดเสียงดังรบกวนภายในพื้นที่ปฏิบัติงาน จึงจำเป็นต้องมีที่เก็บเสียง
  • ในโรงงานอุตสาหกรรมบางครั้งมีการเพิ่มอุปกรณ์นิวเมติกส์เข้ามาในวงจรโดย ไม่คำนึงถึงความสามารถหรือข้อจำกัดของอุปกรณ์นิวเมติกส์ หากมีการเพิ่มอุปกณ์นิวเมติกส์เข้าไปในระบบ เพื่อทำการขยายพื้นที่ในการผลิต ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงความสามารถในการสร้างปริมาณลมของเครื่องอัดลม (Air Compressor) ว่ามีกำลังพอหรือไม่ ไม่อย่างนั้นความแม่นยำในการควบคุมจะลดลง
  • ข้อจำกัดของอุปกรณ์ระบบนิวเมติกส์ จะสามารถปรับเปลี่ยนและประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับงานต่างๆ ได้ง่าย แต่อุปกรณ์บางชนิดก็มีข้อจำกัดในการผลิต และติดตั้งเช่นกัน เช่น กระบอกสูบ หากต้องการแรงที่ส่งจากอุปกรณ์มาก ขนาดของกระบอกสูบก็จะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งในบางกรณีนั้น ไม่สามารถติดตั้งในพื้นที่ที่จำกัดได้
  • แม้ว่าระบบนิวเมติกส์จะสามารถทำงานได้ในสภาวะอุณหภูมิที่ต่างกัน แต่เมื่ออุณหภูมิในพื้นที่ หรือโรงงานเปลี่ยนแปลง ย่อมส่งผลโดยตรงต่อความดันในระบบ คือ เมื่ออุณหภูมิในพื้นที่สูง ความดันในระบบก็จะสูงตามไปด้วย ซึ่งการลดต่ำลงของความดัน จะทำให้ระบบเกิดหยดน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความชื้นในระบบ

สรุป

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าธุรกิจอุตสาหกรรม ได้รับประโยชน์อย่างมากจากอุปกรณ์นิวเมติกส์  อุปกรณ์เหล่านี้มีให้เลือกใช้อยู่หลายแบบหลายยี่ห้อ สำหรับท่านใดที่กำลังต้องการเลือกซื้อ >> อุปกรณ์ระบบลมนิวเมติกส์ << ทาง GFT มีจำหน่าย ถูกและดี มีคุณภาพและการรับประกัน ภายใต้ลิขสิทธิ์จาก AirTAC ประเทศไต้หวัน และเรามีทีมงานที่มากประสบการณ์คอยให้คำปรึกษาสำหรับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับระบบนิวเมติกส์อีกด้วย

สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง

บทความที่น่าสนใจ

5 รุ่น โซลินอยด์วาล์วยอดฮิต ที่ช่างหลายคนต่างเลือกใช้

โซลินอยด์วาล์วแบรนด์ AirTAC ถูกออกแบบมาให้ตอบโจทย์กับงานในอุตสาหกรรมตั้งแต่ขนาดกลางถึงใหญ่ ทั้งในวงการอุตสาหกรรมและเครื่องใช้ตามบ้านเรือน

Read More
ข้อต่อลม

ข้อต่อลม อุปกรณ์ระบบนิวแมติกส์ที่ใช้กับสายลม

ข้อต่อลม อุปกรณ์ระบบนิวแมติกส์ที่ใช้กับสายลม ข้อต่อลม หรือ ฟิตติงลม (Fitting) เป็นข้อต่อสำหรับใช้เสียบกับ “สายลม” ใช้ร่วมกันกับอุปกรณ์นิวแมติกส์ โดยมีหน้าที่ในการเชื่อมต่อระหว่างตัวอุปกรณ์นิวแมติกส์

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save