ข้อต่อลม อุปกรณ์ระบบนิวแมติกส์ที่ใช้กับสายลม
ข้อต่อลม หรือ ฟิตติงลม (Fitting)
เป็นข้อต่อสำหรับใช้เสียบกับ “สายลม” ใช้ร่วมกันกับอุปกรณ์นิวแมติกส์ โดยมีหน้าที่ในการเชื่อมต่อระหว่างตัวอุปกรณ์นิวแมติกส์ กับชุดสายลม หรือเชื่อมต่อระหว่างตัวของสายลมกับสายลมด้วยกันเอง หรือหลายท่อสายลมบนฟิตติงลมก็ได้ ดังนั้นจึงเป็นอุปกรณ์ตัวหนึ่งที่สำคัญเช่นกันในระบบนิวแมติกส์
ทำไมจึงเป็นที่นิยมใช้กันมากในงานเกี่ยวกับนิวแมติกส์?
ข้อต่อสายลมหรือข้อต่อลม หรือ ฟิตติงลม (Fitting) เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในระบบเครื่องจักร ที่ใช้ระบบลมนิวแมติกส์ควบคุม หรือใช้เป็นตัวต่อสายลมกับ FRL-Thailand โซเลนอยด์วาล์ว หรือ กระบอกลม ฯลฯ เพราะสะดวก ง่าย และรวดเร็วในการต่อสายลมระหว่างอุปกรณ์นิวแมติกส์ เวลาจะถอดหรือเปลี่ยนอุปกรณ์นิวแมติกส์ เช่น โซเลนอยด์วาล์ว สามารถถอดสายลม หรือ ใส่สายลมได้อย่างรวดเร็วด้วยมือข้างเดียวก็ยังได้ จึงเป็นที่นิยมใช้กันมากและราคาก็ไม่แพง
Table of Content
ข้อต่อลม (Pneumatic Fitting) จากแบรนด์ GFT
ข้อต่อลมคุณภาพจากแบรนด์ของเราเอง มีหลากหลายชนิดและขนาด ให้เลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมงานแต่ละประเภท
ข้อต่อลม หรือ Fitting มีแบบชนิดใดบ้าง ?
ข้อต่อลม Fitting มีหลายแบบ เช่น แบ่งชนิดตามวัสดุและแบ่งชนิดตามลักษณะการใช้งาน เช่น ข้อต่อพลาสติก ข้อต่อสวมเร็ว และข้อต่อโลหะ โดยชนิดของข้อต่อลมส่วนใหญ่ จะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด
- ข้อต่อลมแบบพลาสติก จะเป็นข้อต่อลมที่เป็นพลาสติกล้วน
- ข้อต่อลมแบบโลหะ จะเป็นข้อต่อลมที่เป็นโลหะล้วน ไม่ว่าจะเป็นทองเหลือง สเตนเลส เหล็ก เป็นต้น
- ข้อต่อลมแบบผสม จะเป็นข้อต่อลมที่ด้านนึงเป็นพลาสติก อีกด้านเป็นโลหะ ออกแบบมาเพื่อใช้เชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์นิวแมติกส์กับสายลมได้หลากหลายขึ้น
การเลือกข้อต่อลมที่ดีมีคุณภาพควรจะมีคุณสมบัติอย่างไร ?
1. สามารถทนแรงดันได้เหมาะสม ข้อต่อลม หรือ Fittings ที่ดี แน่นอนต้องทนแรงดันในโรงงาน หรือหน้างานได้ โดยส่วนใหญ่แล้ว แรงดันที่ใช้โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 0-12 Bar ดังนั้นคุณสมบัติการทนแรงดัน ไม่ควรน้อยกว่า 5 Bar นั่นเอง และควรมีการป้องกันแรงดันกระชากไม่น้อยกว่า 10 Bar เพื่อความปลอดภัย และป้องกันอุปกรณ์เสียหาย วัสดุที่ใช้ทำข้อต่อลม หรือ Fittings ก็สำคัญไม่แพ้กันกับการทนแรงดัน เพราะหากใช้วัสดุเกรดไม่ดี คุณสมบัติไม่เหมาะสม ก็จะทำให้อายุการใช้งานสั้นลง และมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุตามมา หากมีการรั่วขึ้นมา จะทำให้สิ้นเปลืองใช่เหตุ ไม่ว่าจะเป็นการสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้าในเครื่องปั๊มลม หรือ ปั๊มลมทำงานหนักเกิดการสึกหรอเร็วกว่าปกติ ดังนั้นวัสดุที่ที่นำมาผลิตจึงมีความสำคัญมากพอสมควร วัสดุที่ใช้ทำข้อต่อลมส่วนใหญ่ก็คือ PVC, PTFE, ทองเหลือง, สเตนเลส
2. สามารถล็อกแน่นและปลดล็อกง่าย ข้อต่อลม หรือ Fittings ที่ดีนั้น เมื่อต้องใช้ต่อสายลม ต้องต่อได้ง่าย และเขี้ยวล็อกต้องล็อกแน่น ไม่รูด และเมื่อต้องการถอดสายลมก็ถอดได้ง่าย กดปลดล็อคตัวล็อกได้ง่าย
3. เกลียวต้องได้มาตรฐาน ขันได้แน่น เกลียวของข้อต่อลม หรือ Fittings ต้องได้มาตรฐานขันกับเกลียวมาตรฐานทั่วไปได้ และต้องแน่น ไม่รั่วซึม ซึ่งเกลียวทั่วไปที่นิยมใช้โดยส่วนใหญ่จะมี M5 , M6 , 1/8″ , 1/4″ , 3/8″ , 1/2″ ,3/4”,1”
สินค้า ฟิตติงลม ข้อต่อลม (Fitting)
- ข้อต่อลม-ข้อต่อสายลม-ข้อต่อไฮดรอลิก
- ข้อต่อลม พลาสติก, ทองเหลืองฝาสีฟ้า
- ข้อต่อลม พลาสติก, ทองเหลืองชุบนิเกิลฝาสีดำ
- ข้อต่อลม ฝาสีขาว
- ตัวเก็บเสียง (SILENCER)
- ข้อต่อสวมเร็ว (QUICK COUPLE)
- ท่อสายลม เกรดคุณภาพดี (TUBE)
- วาล์วนิวcมติกส์, โซเลนอยด์วาล์ว, วาล์วไฮดรอลิก
- โซลินอยล์วาล์ว คุณภาพ (SOLENOID VALVE)
- วาล์วควบคุมทิศทางลม-โซเลนอยด์วาล์ว แมคคานิคอลวาล์วคุณภาพ
- ชุดกรองลม คุณภาพ (F.R.L COMBINATION)
- กระบอกลม คุณภาพ AIR CYLINDER
สรุป
สำหรับใครที่กำลังมองหาข้อต่อลม หรือ ฟิตติงลม (Fitting) คุณภาพดี ราคาประหยัด นึกถึง AirTAC by GFT เรามีชุดกรองลมหลากหลายประเภท หลากหลายรุ่น ให้คุณเลือกซื้อตามการใช้งานของธุรกิจคุณ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกใช้สำหรับช่างหลาย ๆ คน
สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง
- Facebook Airtac Thailand By Gft
- เว็บไซต์ www.GFT.co.th
- LineID : @gftairtac
- โทร. 02-754-4702
บทความที่น่าสนใจ
สั่งผลิตกระบอกนิวแมติกส์กับ GFT ดีอย่างไร
สั่งผลิตกระบอกนิวแมติกส์กับ GFT ดีอย่างไร? ทำไมต้องสั่งผลิตกระบอกนิวแมติกส์กับ GFT ในปัจจุบันมีโรงงานที่รับผลิต และจำหน่ายกระบอกนิวแมติกส์หลายแห่งมาก
Read Moreชนิดของวาล์วแต่ละประเภท ที่ใช้ในงานท่อ โรงงานอุตสาหกรรม
ในระบบอัตโนมัติในโรงงานอุตสาหกรรม จะประกอบไปด้วยระบบการวัด (เครื่องมือวัดอุตสาหกรรม) และระบบควบคุม
Read More5 Steps วิธีเลือกซื้อชุดปรับคุณภาพลม
5 Steps วิธีการเลือกซื้อ ชุดปรับคุณภาพลม หรือชุดกรองลม ชุดกรองลมดักน้ำ (Air Service Unit) (FRL combination unit) เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อปั๊มลม
Read More