โซลินอยด์วาล์ว, Solenoid Valve

รู้ก่อนซื้อ เลือกรุ่นโซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) อย่างไร ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

โซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve)

เป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญอย่างมากในระบบวงจร เรียกได้ว่าเลือกผิดชีวิตเปลี่ยนทันที เราจึงจำเป็นจะต้องรู้จักชนิดของวาล์วเสียก่อน แล้วจึงเลือกโซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) เพื่อให้มีความสอดคล้องกับการใช้งานได้อย่างเหมาะสม

เลือกรุ่นโซลินอยด์วาล์วอย่างไร ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

วันนี้แอดมินมีข้อมูลดีๆ มาแชร์ เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานที่ควรคำนึงในการเลือกใช้ ดังนี้

1. ลักษณะงานแบบทั่วไป

สามารถใช้วาล์วโซลินอยด์แบบ 2 ทาง คือ 2/2 ทาง ประเภทงานครัวเรือน หรือการจ่ายน้ำแบบทั่วไป เช่น แปลงผัก สวนหย่อม

2. ลักษณะงานแบบจ่ายน้ำเพื่อทำความสะอาด/อุปโภค/บริโภค

สำหรับโซลินอยด์วาล์วเพื่อปั๊มน้ำขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรือนเพาะชำ ฟาร์ม ระบบทำความสะอาดห้องน้ำห้างสรรพสินค้า รวมทั้งปั๊มน้ำขนาดใหญ่ จะนิยมใช้โซลินอยด์วาล์วแบบ 3/2 ทาง หรือแบบ 2/2 ทาง

3. ลักษณะงานสำหรับอุปกรณ์ไฟฟ้าเฉพาะทาง

ปัจจุบันมีการใช้โซลินอยด์วาล์วประเภทนี้มากขึ้นเพราะมีอุปกรณ์ไฟฟ้าเฉพาะ เช่น  เครื่องชงกาแฟ เครื่องล้างจาน เครื่องซักผ้าพิเศษ นิยมใช้โซลินอยด์วาล์วแบบ 3/2 ขึ้นไป

4. ลักษณะงานแบบอุปกรณ์นิวเมติกหรือระบบลมอัด

งานนิวเมติกส์ เป็นระบบวงจรเฉพาะทางที่มีการออกแบบแบบเจาะจง อาจจะใช้โซลินอยด์วาล์วหลากหลายประเภทบางครั้งอาจจะมีการใช้แบบผสมผสาน ขึ้นอยู่กับแผงวงจรที่กำหนด ทั้งนี้ วาล์วที่นิยมนำมาใช้กับระบบนิวเมติกส์ คือ วาล์วแบบ 3/2 ทาง, 5/2 ทาง และ 5/3 ทาง ก็สามารถใช้งานได้

5. ลักษณะงานเกี่ยวกับวิศวกรรมและเครื่องจักรกล

นิยมใช้โซลินอยด์วาล์ว แบบ 3/2 ทาง, 5/2 ทาง และ 5/3 ทาง ซึ่งจะต้องมาดูรายละเอียดของลักษณะเครื่องจักรกลที่ใช้ด้วยอีกที

6. ลักษณะงานแบบแรงดันสูง หรือใช้ความร้อน อุณหภูมิสูง

การเลือกวาล์วลักษณะนี้จะต้องใช้ตัวถังวาล์วเป็นทองเหลืองเท่านั้นเนื่องจากจะต้องรองรับคุณภูมิที่สูงและความดันสูงได้โดยเฉพาะ

ทั้งนี้ รุ่นที่นิยมใช้โซลินอยด์วาล์วในแต่ละประเภทงานเป็นรุ่นที่นิยมนำมาใช้งาน แต่สำหรับการเลือกเพื่อใช้จะต้องมีการดูที่นำจ่ายกระแสไฟฟ้าให้เหมาะสมกับขนาดเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่ใช้อีกที

​ขั้นตอนเบื้องต้นในการการพิจารณาโซลินอยด์วาล์วเพื่อนำไปใช้งาน

  1. ขนาดโซลินอยด์วาล์วที่จะใช้งาน
  2. ปริมาณไฟที่จะใช้งาน เช่น 12 V, 24 V, 220 V นอกจากนี้จะต้องดู
  3. วัสดุโซลินอยด์วาล์วที่ใช้ โดยจะต้องดูชนิดของวัสดุที่ไหลผ่านเพื่อเลือกวัสดุให้เหมาะสม

ตัวอย่างรุ่นโซลินอยด์วาล์วที่นิยมใช้งานแบบครัวเรือน

โซลินอยด์วาล์ว FCD-180w สามารถใช้ไฟ 220V ขนาด 4 หุน ตัววาล์วแบบเปลือย ลักษณะแบบหัวเกลียวนอก ใช้หมุนเพื่อติดโดยจะต้องนำไปต่อเข้ากับตัวเมียอีกที ลักษณะนี้เป็นที่นิยมเพราะสามารถนำไปใช้งานได้เลยทันที ซึ่งจะต้องสังเกตุว่าสามารถใส่ถ่านได้ด้วยหรือไม่และรองรับไฟเท่าไร ตัวเลขบนวาล์ว 27+-5 เป็นการแทนสัญลักษณ์ความแม่นยำ เหมาะกับใช้งานกับท่อสูบน้ำประปาแบบท่อแรงดันน้ำทั่วๆไป ลักษณะงานครัวเรือน สวนในบ้าน

โซลินอยด์วาล์วแบบไฟกระแสตรง DC 12w ขนาด 4 หุน ตัววาล์วจะมีสัญลักษณ์บอกทิศทางวาล์วว่าฝั่งไหนน้ำเข้าน้ำออกได้ โดยจะสังเกตได้ว่าสามารถนำโซลินอยด์วาล์วไปใช้งานกับแรงดันน้ำที่บ้านได้หรือไม่ ให้ดูที่บริเวณหน่วยที่ระบุ Mpa (Mega Pascal) อ่านว่า เมกะปาสคาล ความคือ ตัวบอกดัน pressure เช่น รุ่นโซลินอยด์วาล์วแบบไฟกระแสตรง DC 12w ระบุไว้ว่า 0.02-0.8 Mpa หมายถึงระดับความดันที่รับได้แบบครัวเรือน เหมาะกับใช้งานกับท่อสูบน้ำประปาแบบท่อแรงดันน้ำทั่วๆไป ลักษณะงานใช้ในบ้านที่อยู่อาศัย สวนในบ้าน ซึ่งครัวเรือนทั่วไปจะมี Mpa ไม่เกิน 10 Mpa คือแรงดันที่ไม่สูงมาก

โซลินอยด์วาล์วรุ่นทองเหลือง จะเป็นเทคโนโลยีการผลิตแบบทองเหลืองแต่มีหลักการทำงานโซลินอยด์คล้ายกัน มีการสั่งตัวลิ้นเปิดปิดเช่นเดียวกัน สำหรับรุ่นที่สามารถกำลังใช้ไฟ 220V โดยหากมีการระบุที่วาล์วว่า Max 10kg/cm2 จะตีอยู่ที่กระแสแรงดัน

• โซลินอยด์วาล์วที่ได้อยู่ที่ประมาณ 10 Mpa ดังนั้น จะเป็นแรงดันที่ไม่สูงมาก เหมาะกับลักษณะงานใช้ในบ้านที่อยู่อาศัย สวนในบ้าน ครัวเรือน

สรุป

ที่ GFT เราให้ความสำคัญกับการเลือกโซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) ให้เหมาะกับการใช้งานเพื่อไม่ให้ต้องเสียเงิน เสียเวลา ..สามารถปรึกษาและขอคำแนะนำเลือกสินค้ากับทีมงานมืออาชีพมากด้วยประสบการณ์ แบบตรงไปตรงมาอย่างมืออาชีพได้ทันที

สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง 

บทความที่น่าสนใจ

อุปกรณ์นิวเมติกส์

5 สาเหตุสำคัญที่มีส่วนทำลายระบบอัดลม ในอุปกรณ์นิวเมติกส์

ในการขับเคลื่อนของระบบนิวเมติกส์ที่ใช้เครื่องอัดลมจ่ายพลังงาน ซึ่งในประเทศไทยเป็นประเทศร้อนชื้น ลมอัดจึงมักจะมีปัญหาเรื่องความชื้นและฝุ่นละอองที่ปะปนอยู่ในอากาศ

Read More
นิวเมติกส์

ความแตกต่างระหว่างนิวเมติกส์และไฮดรอลิก

เคยสงสัยกันหรือไม่ว่าระหว่างนิวเมติกส์และไฮดรอลิก แท้จริงแล้วเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งทั้ง 2ชนิดนี้ใช้การเคลื่อนไหวประเภทเดียวกัน และใช้ของเหลวในการส่งพลังงานเชิงกล

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save