กระบอกลม air cylinder

รู้ก่อนดีกว่า..กับข้อควรระวังต่างๆในการติดตั้งกระบอกลม Air Cylinder

ก่อนที่เราจะติดตั้งกระบอกลมนิวเมติกส์นั้น เราจะต้องรู้ข้อระวังต่างๆในการติดตั้งกระบอกลม Air Cylinder กันก่อนดีกว่า ว่ามีข้อควรระวังอะไรบ้างเพื่อให้กระบอกลมนิวเมติกส์ที่ติดตั้งไปนั้นใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เพราะอายุการใช้งานของกระบอกลมเบื้องต้นนั้น จะสามารถใช้งานได้ยาวนานหรือไม่ การติดตั้งกระบอกลมที่ถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญ คือ ก้านสูบต้องไม่ถูกแรงที่มีทิศทางที่ งัดลูกสูบ-โอริง-กระบอกลมซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหาย หรืออายุการใช้งานสั้นลง

ในการติดตั้งกระบอกลมนิวเมติกส์ คือจุดศูนย์กลางของแกนลูกสูบกระบอกลมอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกับการเคลื่อนที่ของชิ้นงาน/โหลด (Load) เพื่อไม่ให้มีแรงงัดต่อก้านสูบ ลูกสูบโอริง และฝาด้านในของกระบอกลมนิวเมติกส์ โดยจะทำให้อายุการใช้งานสั้นลงได้

อุปกรณ์ที่ใช้ต่อร่วมในการติดตั้งกระบอกลมกับเครื่องจักร (Accessories for installing Air Cylinder to Machine)

อุปกรณ์ต่อใช้ร่วมกับการติดตั้งใช้งานกระบอกลม (Air Cylinder) มี 3 ชนิด คือ

  1. ตัวติดยึด (Bracket) กับกระบอกลมกับเครื่องจักรหรือสิ่งยึดติดอื่นๆ
  2. จอยหรือข้อเกี่ยว (Joint or Knuckle) ใช้ยึดระหว่างปลายก้านสูบกับชิ้นส่วนของเครื่องจักร
  3. สวิทช์เซนเซอร์ (Sensor Switch) อุปกรณ์ที่ใช้ต่อร่วมหรือตัวยึด (Bracket) สำหรับติดยึดตัวกระบอกลมใช้เพื่อให้ตัวกระบอกลมยึดติดส่วนที่แข็งแรงของเครื่องจักร

วิธีเลือกใช้อุปกรณ์ที่ใช้ต่อร่วม

อุปกรณ์ที่ใช้ต่อร่วมในการติดยึดตัวกระบอกลม ไม่ว่าจะเป็นแบบยึดติดกับพื้น หรือเป็นแบบหน้าแปลนแบบยึดติดฝาประกับหน้า/หลัง ฯลฯ

  1. ต้องเลือกใช้ให้ถูกรุ่นของกระบอกลม เช่น กระบอกลมแบบมีฝาประกับหน้า/หลัง กระบอกลมโปรไฟล์ (Profile Air Cylinder) กระบอกลมแบบคอมแพ็ค (Compact Air Cylinder) แบบกระบอกลมมินิ ฯลฯ เพราะตัวยึดติด (Bracket) อาจจะใช้ติดตั้งแทนกันไม่ได้
  2. ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของกระบอกลม เพราะตัวยึดสำหรับกระบอกลมจะมีขนาดแตกต่างตามขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลางของกระบอกด้วย
  3. จะยึดติดตายหรือยึดติดแบบให้โยกเอียงได้

ตัวอย่างที่ 1 แนวการติดตั้งกระบอกกระบอกลม Air Cylinder ต้องอยู่แนวเดียวกันกับการเคลื่อนที่ของโหลดและขนานกับระดับพื้นเสมอ

ตัวอย่างที่ 2 น้ำหนักชิ้นงานที่ปลายก้านกระบอกลมจะงัดก้านลูกสูบ ฯลฯ จึงควรมีรอลเลอร์ มารับน้ำหนักชิ้นงานตามรูป

ตัวอย่างที่ 3 หากแกนกระบอกยาวจะทำให้เกิดแรงบิดมาก ควรทำไกด์มารับแรงบิดแทน

ตัวอย่างที่ 4 การติดตั้งให้ตัวยึดกระบอกลมอยู่ไกลจะทำให้เกิดแรงบิดมากเกิน ควรย้ายตัวยึดกระบอกลมมาที่โคนของกระบอกลม จะลดแรงบิดได้มาก

ตัวอย่างที่ 5 กระบอกลมที่มีระยะชักมากๆ ควรมีรางเป็นไกด์ เพื่อลดแรงบิดให้น้อยลง

ตัวอย่างที่ 6 เมื่อก้านสูบยาวมาก แรงบิดจะทำให้ก้านสูบงอ ไม่ควรให้ตัวยึดอยู่ข้างล่าง กระบอกควรใช้แบบยึดหน้ากระบอกลมแทน 

ตัวอย่างที่ 7 หากจำเป็นต้องติดตั้งตัวยึดที่กลางกระบอกควรให้ความสูง H น้อยที่สุด เพราะยิ่งสูงมาก จะมีแรงบิดที่สกรูที่ยึดตัวพื้นมากขึ้นตามไปด้วย

ตัวอย่างที่ 8 วิธีการติดตั้งตัวยึดหน้าแปลนต้องเลือกว่าจะให้ตัวยึดอยู่ตำแหน่งไหนของแกน ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าโหลดเป็นแบบดันหรือดึงก้านสูบ

สรุป

หากสนใจกระบอกลมในแบบต่างๆ สามารถสอบถาม ที่นิยมใช้กัน ชนิดของ Air Cylinder ยังมีอีกหลายแบบ ซึ่งหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามกับทาง GFT ได้ ทางเรามีผู้เชี่ยวชาญยินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสินค้า อุปกรณ์ Pneumatic ทุกชนิดที่ลูกค้าต้องการ

แหล่งข้อมูลเว็บไซต์ : pneu-hyd.co.th , ThaiA.net

สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ช่องทาง 

บทความที่น่าสนใจ

กระบอกนิวแมติกส์

สั่งผลิตกระบอกนิวแมติกส์กับ GFT ดีอย่างไร

สั่งผลิตกระบอกนิวแมติกส์กับ GFT ดีอย่างไร? ทำไมต้องสั่งผลิตกระบอกนิวแมติกส์กับ GFT ในปัจจุบันมีโรงงานที่รับผลิต และจำหน่ายกระบอกนิวแมติกส์หลายแห่งมาก

Read More
ระบบนิวเมติกส์

ทำไมระบบนิวเมติกส์ Pneumatic จึงนิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

ะบบนิวเมติกส์ หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ระบบลม” คือ ระบบที่ใช้อากาศอัด และส่งไปตามท่อลม ที่ประกอบเข้ากับชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องจักร

Read More

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save